Temporary Skill Shortage Visa (TSS subclass 482) ประตูสู่การได้วีซ่าพลเมืองถาวรในออสเตรเลีย
น้องๆ หลายคนอาจจะพอได้ยินได้ฟังกันมาบ้างแล้วว่า ประเทศออสเตรเลียนั้น เปิดรับประชากรจากนานาชาติผู้มีทักษะ หรืออาชีพเฉพาะทางหลายสาขาเข้ามาเป็นพลเมือง เพื่อเติมเต็ม สาขาอาชีพ ที่ขาดแคลนมานาน และกำลังเป็นที่ต้องการในปัจจุบัน หรือในอนาคตอันใกล้
ประเทศออสเตรเลีย จึงกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่คนไทยอย่างเราๆ มุ่งหมายจะไปศึกษาต่อ เก็บเกี่ยวประสบการณ์ ทำงาน และเสาะหาหนทางเพื่อการเป็นพลเมืองถาวร หรือที่คนที่นี่เรียกติดปากว่า PR (Permanent Resident) นั่นเอง
และหนึ่งหนทางที่จะนำพาน้องๆ ที่สนใจจะเป็นพลเมืองของออสเตรเลียในอนาคตก็คือวีซ่า Temporary Skill Shortage Visa (TSS subclass 482) วันนี้ พี่ๆ SOL Edu เลยจะมาเล่าให้ฟังแบบเจาะลึกถึงวีซ่าชนิดนี้ว่าจะเป็นสะพานสู่การเป็น PR ได้อย่างไร
ก่อนอื่นมาทำความรู้จัก Temporary Skill Shortage Visa (TSS subclass 482) หรือที่เราจะเรียกกันย่อๆ ในบทความนี้ว่า TSS กันก่อนค่ะ
TSS คืออะไรและมีกี่รูปแบบ
TSS วีซ่าคือวีซ่าที่เปิดโอกาสให้นายจ้างในออสเตรเลียที่ไม่สามารถหาลูกจ้างในสาขาอาชีพที่ต้องการ สามารถจ้างลูกจ้างชาวต่างชาติที่มีทักษะเหมาะสมได้ด้วยการสปอนเซอร์ให้ลูกจ้างต่างชาตินั้นทำงานในออสเตรเลียได้ภายใต้ วีซ่า 3 รูปแบบคือ
- Short-Term stream
- Medium-Term Stream
- Labour Agreement stream
รูปแบบที่เราจะมาพูดถึงในวันนี้ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับสาขาอาชีพที่เป็นที่นิยมคือแบบที่ 1 และ 2 ค่ะ ส่วนแบบที่ 3 เป็นแบบที่เฉพาะเจาะจงมากๆ และมักไม่สามารถใช้ได้กับคนทั่วไป
1. Short-Term stream
เปิดโอกาสให้นายจ้างสปอนเซอร์ลูกจ้างต่างชาติได้แบบชั่วคราวเท่านั้นโดยลูกจ้างจะได้วีซ่าทำงานไม่เกิน 2 ปี และสามารถต่อวีซ่าในประเทศได้อีกไม่เกิน 2 ปี เท่านั้น วีซ่ารูปแบบนี้จะเปิดรับทักษะอาชีพที่ค่อนข้างหลากหลายแต่ไม่ได้เป็นที่ขาดแคลนในระยะยาว จึงไม่สามารถใช้เป็นสะพานไปสู่การเป็น PR ได้ในอนาคต โดยสาขาอาชีพ ที่สามารถขอวีซ่ารูปแบบนี้ได้ต้องอยู่ใน STSOL ลิสต์ ซึ่งพี่ๆ สรุปสาขาอาชีพที่ดูแล้วเป็นไปได้สูงและเป็นที่นิยมสำหรับคนไทยอย่างเราคร่าวๆดังนี้ค่ะ
- Café or Restaurant Manager (ผู้จัดการร้านอาหารคือคาเฟ่)
- Cook (กุ๊ก – ผู้ประกอบอาหาร)
- Pastrycook (กุ๊กปรุงขนม)
- Hairdresser (ช่างทำผม)
- Massage Therapist (นักนวดบำบัด)
น้องๆ ที่ต้องการเช็คดูว่าสาขาอาชีพอื่นๆ ที่น้องๆ สนใจอยู่ในลิสต์นี้รึป่าว สามารถเข้าไปดูได้ที่ ลิ้งค์นี้ค่ะ STSOL โดยวิธีการดูคือ ดูที่ช่อง List และมองหาคำว่า STSOL ตามตัวอย่างด้านล่างค่ะ หากน้องๆ พบสาขาอาชีพที่สนใจ และต้องการติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสาขาอาชีพนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนต่อ หรือวีซ่า สามารถติดต่อพี่ๆ SOL Edu ได้ตามข้อมูลท้ายบทความเลยนะคะ
2. Medium-Term Stream
เปิดโอกาสให้นายจ้างสปอนเซอร์ลูกจ้างต่างชาติผู้ที่มีสาขาอาชีพอยู่ใน MLTSSL หรือ Regional Occupation List (ROL) ได้แบบชั่วคราวระยะเวลาไม่เกิน 4 ปี โดยหลังจาก 3 ปีผ่านไป นายจ้างสามารถสปอนเซอร์ลูกจ้างคนเดิม ในตำแหน่งเดิม ให้อยู่ทำงานต่อในกิจการเดิม ด้วยวีซ่า PR ประเภท ENS หรือ RSMS (ซึ่งเราจะกล่าวถึงวีซ่า ทั้งสองชนิดนี้ใน บทความต่อไปเร็วๆ นี้ค่ะ) สรุปคือวีซ่ารูปแบบนี้นี่เองค่ะ ที่เป็นสะพานไปสู่การเป็น PR ได้ โดย พี่ๆ อยากสรุปสาขาอาชีพที่เป็นไปได้สูง และเป็นที่นิยมสำหรับคนไทยดังนี้ค่ะ
- Accountant (นักบัญชี)
- Air-conditioning and Refrigeration Mechanic (ช่างซ่อมแอร์หรือเครื่องทำความเย็น)
- Architect (สถาปนิก)
- Automotive Electrician (ช่างเดินสายไฟในยานพาหนะ)
- Carpenter (ช่างไม้)
- Chef (เชฟ – ผู้ปรุงอาหารฝีมือระดับสูง)
- Child Care Centre Manager (ผู้จัดการสถานรับเลี้ยงเด็กเล็ก)
- Engineer (วิศวกร)
- Registered Nurse (พยาบาลวิชาชีพ)
- Quantity Surveyor (ผู้วางแผนและจัดการการก่อสร้าง)
- Social Worker (นักสังคมสงเคราะห์)
น้องๆ ที่ต้องการเช็คดูว่าสาขาอาชีพอื่นๆ นอกจากนี้ที่น้องๆ สนใจอยู่ในลิสต์นี้รึป่าว สามารถเข้าไปดูได้ที่ ลิ้งค์นี้ค่ะ MLTSSL โดยวิธีการดูคือ ดูที่ช่อง List และมองหาคำว่า MLTSSL หรือ Reginal ตามตัวอย่างด้านล่างค่ะ
เงื่อนไขในการยื่นวีซ่า TSS มีอะไรบ้าง
- ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ยื่นวีซ่า
- ตรวจสอบคุณสมบัติของสาขาอาชีพที่ตนต้องการใช้ยื่นวีซ่า ว่าได้ตามมาตรฐานของวิชาชีพสาขานั้นๆ หรือไม่ โดยแต่ละอาชีพจะมีระบบตรวจสอบ และองค์กรที่ตรวจสอบแตกต่างกันไป เช่นผู้ที่ต้องการยื่นวีซ่าโดยสาขาอาชีพ chef และจบการศึกษาจากคอร์ส Commercial Cookery ในออสเตรเลียต้องยื่นเรื่องเข้าไปที่หน่วยงาน TRA เพื่อนำวุฒิ และประสบการณ์ที่ตนมีไปดูว่าเทียบเท่ากับมาตรฐานของออสเตรเลียหรือไม่ จากนั้นทาง TRA จะออกเอกสารยืนยัน เพื่อนำไปประกอบการยื่นวีซ่า
- ผู้ที่ต้องการยื่นวีซ่าแบบ Short-Term stream ต้องมี ผลสอบ IELTS แบบ General Module โดยได้คะแนน Overall 5.0 และแต่ละพาร์ทไม่ต่ำว่า 4.5 ส่วนผู้ที่ต้องการยื่นวีซ่าแบบ Medium-Term Stream ต้องมี ผลสอบ IELTS แบบ General Module โดย ได้คะแนน Overall 5.0 และแต่ละพาร์ทไม่ต่ำกว่า 5.0
- ประสบการณ์ทำงานในสาขาอาชีพที่ใช้ยื่นวีซ่าอย่างน้อย 2 ปี โดยประสบการณ์ 2 ปีนี้ เริ่มนับหลังจากจบการศึกษาในระดับที่กำหนดโดย ANZSCO ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละอาชีพ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่ยื่นวีซ่าสาขา chef จะสามารถเริ่มนับประสปการณ์ทำงานได้ หลังจากที่เรียนจบระดับ Diploma ส่วนผู้ที่ต้องการยื่นวีซ่าสาขา Cook จะสามารถเริ่มนับประสบการณ์ทำงานได้หลังจากที่เรียนจบระดับ Certificate IV
- ตรวจสอบคุณสมบัติของนายจ้าง
-
- กิจการดำเนินอย่างถูกกฎหมาย
- แสดงได้ว่านายจ้างมีความจำเป็นต้องจ้างลูกจ้างต่างชาติเพื่อทำงานในอาชีพที่กำหนดเนื่องจากไม่สามารถหาลูกจ้างพี่เป็นชาวออสเตรเลียได้แล้วจริงๆ โดยที่
- ตำแหน่งที่จ้างและหน้าที่ที่ลูกจ้างทำงาน ต้องสอดคล้องกัน ทั้งในเนื้องานของธุรกิจนั้นๆ และความรับผิดชอบ
- ค่าแรงต้องเทียบเท่ากับที่ลูกจ้างชาวออสเตรเลียทั่วไปได้รับเป็นขั้นต่ำ ของสาขาอาชีพนั้นๆ และต้องไม่ต่ำกว่า AUD53,900 ต่อปี
- นายจ้างมีหน้าที่ช่วยพัฒนาศักยภาพการจ้างงานของคนออสเตรเลียด้วยาการ สนับสนุนเงินทุนให้กับรํฐบาลโดยแบ่งเป็น
- นายจ้างที่ทำยอดธุรกิจต่อปีต่ำกว่า $10ล้าน ต้องจ่ายค่าสนับสนุนให้กับรัฐจำนวน $1,200 ต่อปี
- นายจ้างที่ทำยอดธุรกิจต่อปีเท่ากับหรือสูงกว่า $10ล้าน ต้องจ่ายค่าสนับสนุนให้กับรัฐจำนวน $1,800 ต่อปี
ขั้นตอนการยื่นวีซ่า TSS
สำหรับนายจ้าง
- ยื่นใบสมัคร Sponsorship Application และเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเพื่อตรวจสอบคุณสมบัตินายจ้าง เมื่อคุณสมบัติผ่าน จะได้รับจดหมาย Sponsorship Approval Number
- ยื่นความจำนงในการจ้างลูกจ้างต่างชาติภายใต้วีซ่า TSS (Nomination)
- หากได้รับการรับรองเป็นสปอนเซอร์ นายจ้างจะได้รับจดหมายยืนยันพร้อม Approval Number หากไม่ได้รับการรับรองเป็นสปอนเซอร์ จากอิมมิเกรชั่นจะได้รับจดหมายอธิบายว่าทำไม่ถึงไม่ได้รับการรับรอง
สำหรับลูกจ้าง
- ตรวจสอบดูว่าวีซ่าตัวปัจจุบันมีเงื่อนไข “No further stay” หรือไม่ หากไม่ติดเงื่อนไขดังกล่าวจึงจะยื่นวีซ่าได้ หากติดเงื่อนไขนี้ จะยื่นวีซ่าได้ในกรณีพิเศษเท่านั้น
- รวบรวมเอกสารให้ครบตามเงื่อนไขของวีซ่า และคุณสมบัติของผู้ที่ยื่นวีซ่าได้
- ยื่นวีซ่า โดยต้องใช้รหัส TRN จากการยื่นความจำนงในการจ้างลูกจ้างต่างชาติโดยนายจ้างด้วย (รหัสนี้ขอได้จากนายจ้าง)
- รอผลวีซ่า หากมีข้อมูลใดเปลี่ยนแปลงระหว่างรอ ต้องแจ้งให้ทางอิมมิเกรชั่นทราบเป็นระยะ
ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง
รายการ | ค่าใช้จ่ายเป็น $AUD |
ค่ายื่น Sponsorship Application | $420 |
ค่ายื่น Nomination | $330 |
ค่ายื่นวีซ่า TSS (Short-term Stream) | $1,150 |
ค่ายื่นวีซ่า TSS (Medium-term Stream) | $2,240 |
บริษัทของเราได้รับการจดทะเบียน Registered Migration Agents อย่างถูกต้องตามกฎหมายประเทศออสเตรเลีย MARN 168352
หรือจะกรอกแบบฟอร์มด้านล่างนี้เพื่อติดต่อเราก็ได้ด้วยเช่นกัน