‘น้องกี้’ แชร์ประสบการณ์เรียน Master of Data Analytics ที่ QUT
การเตรียมตัวสมัครเรียน
ตอนสมัครสอบอ่านหนังสือเตรียมสอบ IELTS เองค่ะ ซื้อหนังสือ Barron’s, Cambridge IELTS test และก็เน้นทำฟรีในเว็บ ieltsonlinetest แต่คะแนนไม่ถึงเกณฑ์ที่มาเรียนต่อปริญญาโทซึ่งต้องได้ Overall 6.5 QUT เลยเสนอคอร์ส EAP2 ให้ ถ้าผ่านก็เรียนต่อปริญญาโทในคณะที่สมัครได้เลย ซึ่งเอกสารก็เตรียมตามที่เอเจนซี่แนะนำ อย่างเช่น Statement of purposes (SOP), Transcript, Evidence of financial support from parent เป็นต้น ซึ่งทางเอเจนซี่จะหาคอร์สที่เหมาะสมกับเรามาให้เลือก
คอร์สเตรียมตัวก่อนเข้าเรียนในระดับมหาลัยฯ
เพราะคะแนนสอบไม่สามารถเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยได้เลย ทำให้กี้ต้องเรียนคอร์ส EAP เพื่อปรับพื้นฐานภาษาก่อน สำหรับการเรียนคอร์สภาษา EAP (English for Academic Purpose) เราค่อนข้างรู้สึกดีและรู้สึกว่าคุ้มค่าที่เลือกมาเรียนมาก ดีกว่านั่งอ่านหนังสือต่อที่ไทย อาจารย์เป็นคนออสซี่ เน้นฝึกเขียน อาจารย์น่ารัก
English course จะอยู่ภายใต้ QUTIC ซึ่งเราว่าเขาซับพอร์ตเราดีมาก ๆ มีปัญหาอะไรไปปรึกษา เขาก็แก้ให้เราตลอด ซึ่งคลาสเรียนจะเป็นห้องเล็ก ๆ ประมาณ 13-14 คน ในห้องเรา 10 คนเป็นคนจีน 1 เวียดนาม 1 โคลัมเบีย 1 อินเดีย และเราคนไทย ทำให้เราจำเป็นต้องพูดภาษาอังกฤษกับเพื่อนทุกคน เราเตรียมอาหารไปกินทุกวันเลย ตอนพักเที่ยงเราก็ใช้เวลากับเพื่อนกลุ่มเล็ก ๆ มีเวียดนาม ไต้หวัน เรา ซึ่งเราคิดว่าเพื่อน ๆ เป็นเอเชียน่ารัก ทำให้เราได้พัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษ
เนื้อหาที่สอนดีมาก ก็จะเรียนเป็น Theme of the week เพื่อจำศัพท์ ทำข้อสอบการอ่าน การฟังตามธีมสัปดาห์นั้น แล้วก็เริ่มฝึกเขียนจาก introduction, body paragraph, conclusion แล้วก็เรียนแต่ละประเภทของการเขียน essay, argument essay, problem solution แล้วแต่สัปดาห์ แล้วก็ใกล้ๆจบคอร์สก็จะมีสอบวัดระดับ listening, reading, writing แล้วก็มีเขียนบทความที่หาข้อมูลส่ง (Research assignment) และก็มีพรีเซนต์ รวมๆแล้วต้องได้คะแนนมากกว่า 65 คะแนนก็จะผ่านเข้าไปเรียนคณะต่างๆได้เลย สิ่งที่เราชอบมาก ๆ อีกอย่างคือ QUT Blackboard เป็นระบบที่เราต้องใช้เมื่อเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัย การหาข้อมูลมาเขียนบทความ การเขียนอ้างอิง เมื่อตอนมาเรียนปริญญาโทจริง ๆ ทำให้เรามีประสบการณ์ และปรับตัวได้ง่ายขึ้น
ประสบการณ์เรียนปริญญาโท
การสมัครเรียนมหาวิทยาลัย QUT สามารถเรียนได้ทุกคณะ ไม่ว่าจะมีพื้นฐานมาจากสายไหนก็ตาม เพราะเราจะต้องเริ่มจากพื้นฐาน และต้องใช้ความพยายามเรียนรู้ด้วยตัวเองมาก ๆ ส่วนตัวเรานั้นจบปริญญาตรีมาจากคณะเศรษฐศาสตร์ ซึ่งมีบางอย่างที่คล้ายกัน แต่ถ้าส่วนตัวคิดว่าคณะนี้น่าจะคล้าย ๆ คณะสถิติที่ไทย ที่จำเป็นต้องเรียนวิชาสถิติ ความแตกต่างคือ จะมีการเรียนเขียนโค้ดด้วย ซึ่งตอนที่เรียนคณะเศรษฐศาสตร์กับถามเพื่อนที่เรียนคณะสถิติจะมีโปรแกรมสถิติที่เราใช้ประจำอย่าง STATA, Eviews หรือ SPSS
Master of Data Analytic ใช้เวลาเรียนทั้งหมด 2 ปี แต่ถ้าคนที่จบสาย IT หรือ สถิติประยุกต์ หรือโปรแกรมมิ่งพื้นฐานมาจากไทย สามารถโอนหน่วยกิตบางวิชามาจากระดับปริญญาตรีได้ รวมไปถึงคนที่เคยมีประสบการณ์ทำงานมาแล้วก็สามารถข้ามบางวิชาได้เช่นกัน แต่เนื่องจากเราจบคณะที่ไม่เกี่ยวข้องมา ทำให้ต้องเริ่มพื้นฐานใหม่ทั้งหมด
โดยสายวิชา Data Analytic จะแบ่งเป็นสามสาขาหลัก ๆ ก็คือ สาขาวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis), สาขาพัฒนาระบบ (Systems Development) และ การใช้ข้อมูลตัดสินใจ (Data-Driven Decision)
การเรียนระดับปริญญาโท มีแบ่งวิชาออกเป็นสองแบบคือ วิชาหลัก (Core Unit) ที่บังคับให้นักศึกษาต้องเรียน, วิชาเลือก (Complementary Studies Units) ซึ่งวิชาเลือกเราสามารถเลือกเรียนได้หลากอย่าง ตามที่เราสนใจ เราจะอธิบายวิชาที่เราเคยเรียนมาแล้วบางวิชา
-
- Data Analytics for Strategic Decision Maker – วิชานี้ดี ๆ มาก และเป็นวิชาที่ได้ความรู้เยอะมาก ในแต่ละสัปดาห์อาจารย์จะสอนว่าข้อมูลแบบนี้ให้วิเคราะห์ประมาณนี้ ใช้ Python ในการเขียนเพื่อวิเคราะห์ แต่ข้อเสียคือ ทาง QUT ไม่ได้พื้นฐานให้เราเขียน Python ทำให้เราต้องไปหาที่เรียนรู้ข้างนอกเองต้องใช้ความพยายามทำให้เหนื่อยมาก แต่เป็นวิชาที่รู้สึกว่าใช้ได้ในชีวิตจริง โดยรายงานที่ต้องทำ อาจารย์ก็ให้ไปดึงข้อมูลมาจาก Kaggle ซึ่งเป็นเว็บที่รวบรวมข้อมูลแตกต่าง มีโค้ดตัวเองด้วย
- Introduction to Research – เราไม่ค่อบชอบวิชานี้เท่าไหร่ เพราะเป็นวิชาที่เน้นทำวิจัยโดยการอ่านและสรุปธีมจากงานวิจัยของคนอื่น เพื่อตอบคำถามงานวิจัย โดยวิธีการ Content Analysis หรือวิเคราะห์บทความ ทำให้ต้องอ่านงานวิจัยจำนวนมาก ทั้งเพื่อเขียนการทบทวนวรรณกรรม และการเขียนผลการวิจัย
- Advance Project 1 และ Advance Project 2 – เป็นวิจัยเหมือนกัน โดยรวม ๆ ก็คือเป็นวิชาที่จะต้องหาคำตอบเกี่ยวกับปัญหาที่เจอจากการวิจัยเก่า ๆ เราจะต้องมาวิเคราะห์ว่าต้องใช้ทฤษฏีหรือเครื่องมือไหนมา Analyst แล้วก็ใช้โปรแกรมในการฝึกวิเคราะห์ว่าจะต้องแก้ไขปัญหายังไง ไปในทางไหนได้บ้าง
- Statistical Data Analysis – สถิติพื้นฐานเลย ก็พวกค่าเฉลี่ย การทดสอบสมมติฐาน โดยใช้โปรแกรม R ในการเรียน ซึ่งอาจารย์วิชานี้สอนดีมากๆ รู้สึกว่ามันง่ายมากสำหรับคนมีพื้นฐานและคนไม่มีพื้นฐานก็เรียนได้เพราะอาจารย์สอนดีมาก ๆ รายงานก็ลิสต์เป็นข้อ ๆ เป็นขั้นตอน
- Advanced Statistical Analysis – เรียนการสถิติพวก exponantial family อย่าง Poisson, Mix effect อันนี้คือเรียนเองส่วนใหญ่เพราะฟังอาจารย์ไม่ค่อยรู้เรื่อง งานเดี่ยวหนึ่งงาน งานกลุ่มหนึ่งงาน เขียนรายงานกับ R code notebook
- System Analysis and Design – เรียนเขียนพวก Use case diagram, Sequence Diagram, Activity Diagram
- Database 6 weeks – เรียนเขียนแผนภาพในการออกแบบโครงสร้างฐานข้อมูลและการเขียนโค้ด SQL เพื่อสร้างฐานข้อมูลและการดึงข้อมูลออกมาใช้
- Stochastic Modelling – เป็นสอบร้อยละ 60 การบ้าน 20 งานกลุ่ม 20 ก็คือวิชานี้เน้นทำโจทย์เลขเกี่ยวกับระบบ ใช้ความน่าจะเป็น
ที่ QUT จะต้องเรียนพื้นฐานการเขียนโปรแกรมโดยใช้ C# เกือบทุกวิชาโปรแกรมของที่นี่จะสอน C# รวมไปถึง Data Strucure and Algorithms และ Object oriented design ส่วนตัวอยากให้ทางสถาบันสอนเขียน Python มากกว่า เราไม่แน่ใจว่าปริญญาโทที่ไทยเป็นอย่างไร แต่จากการเปรียบเทียบจากตอนเรียนปริญญาตรีที่ไทยแล้ว ที่นี่จะเน้นการเขียนรายงาน เยอะมาก และไม่ค่อยมีสอบ แต่ทั้งนี้อาจจะขึ้นอยู่กับคณะด้วย
ในระหว่างเรียน เราก็หาทำงานนิด ๆ หน่อย ๆ อย่าง reception ร้านนวดจากคำแนะนำของเพื่อน และร้านอาหารหา ซึ่งหางานจากในเว็บ mabrisbane ไม่ได้ทำเยอะมาก เพราะเรียนปริญญาโทหนัก
แผนหลังเรียนจบก็คงต่อ Gradutaion Visa (subclass 485) หางานเป็นนักวิเคราะห์ Data Analyst หรืออาจจะเลือกสายเน้นไปทางธุรกิจ Business Analyst ถ้าเรามีความชำนาญด้านการเขียน Program ก็สามารถไปทำงานเป็นวิศวกรข้อมูลและนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลได้เหมือนกัน
หากเพื่อน ๆ คนไหนสนใจเรื่องการเรียน Data Analytics ต้องการหาข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อพี่ ๆ SOLEdu ได้เลยนะคะ 🙂
หรือจะกรอกแบบฟอร์มด้านล่างนี้เพื่อติดต่อเราก็ได้ด้วยเช่นกัน