หลายคนอาจจะมึนงงสับสน เอ๊ะอะไรคือวีซ่า PR หรือ TR (Temporary Graduate Visa) ที่ประเทศออสเตรเลีย มันเหมือนหรือมันต่างกันยังไงบ้าง จะสรุปความแตกต่างให้ฟังกันค่ะ
อะไรคือ PR อะไรคือ TR?
PR ที่คนที่นี่เรียกกันติดปากนั้น จริง ๆ แล้วมันย่อมาจากคำว่า Permanent Resident หรือผู้พำนักถาวรในประเทศออสเตรเลีย ส่วน TR นั้น คือ Temporary Resident หรือวีซ่าที่อนุญาติให้ผู้ที่ถือวีซ่านี้อยู่ที่ประเทศออสเตรเลียได้ชั่วคราว ในบทความนี้เราจะขอพูดถึงวีซ่าชั่วคราวสองประเภทคือวีซ่าชั่วคราวสำหรับนักเรียนต่างชาติที่สำเร็จการศึกษาในออสเตรเลียกับวีซ่าชั่วคราวที่นำไปสู่การขอวีซ่าพลเมืองถาวรในอนาคต วีซ่า PR และ TR นั้นแทบจะเรียกได้ว่ามีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยความแตกต่างนั้นจะมีอะไรบ้าง เราไปลองดูกันเลยดีกว่าค่ะ
PR และ TR (Temporary Graduate Visa) หลังจากได้มาแล้วนั้น จะอยู่ออสเตรเลียได้นานเท่าไหร่?
ก็อย่างที่บอกไปข้างต้นว่า วีซ่า 2 ตัวนี้นั้น ค่อนข้างที่จะแตกต่างกัน แต่น้อง ๆ บางคนชอบสับสนเพราะว่าชื่อย่อมันคล้าย ๆ กัน วีซ่า PR นั้นสามารถอยู่ออสเตรเลียได้ถาวรหลังจากได้มาแล้ว แต่ยังไม่ถือว่าเป็นพลเมืองที่ประเทศออสเตรเลีย และจะต้องทำการต่ออายุเมื่อวีซ่านั้นหมดอายุลง
สำหรับวีซ่า Temporary Visa นั้นระยะเวลาขึ้นอยู่กับประเภทวีซ่าที่ถือเช่น
- Temporary Graduate Visa (Subclass 485) นั้น จะสามารถอยู่ต่อที่ประเทศออสเตรเลียได้เป็นเวลาตั้งแต่ 5 ปี ไปจนถึง 4 ปี ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับว่า ผู้ที่ยื่นขอวีซ่านั้นเรียนจบหลักสูตรอะไรมา และอาจจะมีโอกาสสามารถยื่นวีซ่าประเภทนี้ครั้งที่สองเพิ่มอีก 1-2 ปี ในกรณีที่เรียนระดับปริญญาขึ้นไปในเขต regional area ซึ่งจะอธิบายให้ฟังอย่างละเอียดต่อ
- Temporary Skill Shortage (TSS) (Subclass 482) จะสามารถอยู่ต่อในประเทศออสเตรเลียเป็นเวลา 4 ปีและสามารถขอยื่นเป็นพลเมืองถาวรได้ในภายหลัง
- Skilled Work Regional (Provisional) Visa (Subclass 491) เป็นวีซ่าที่ผู้ยื่นจะสามารถอยู่ต่อประเทศออสเตรเลียได้ 5 ปีเพื่อยื่นวีซ่าพีอาร์ในอนาคตหากครบกำหนดและเงื่อนไขของวีซ่าตัวถัดไป
วีซ่า TR ต้องทำยังไง ทำแล้วได้อะไร ?
วีซ่า TR นั้นเป็นวีซ่าที่มีระยะเวลาในการอยู่ที่ประเทศออสเตรเลียจำกัดและแน่นอน ในบล็อกนี้เราจะขอแบ่งประเภทวีซ่า TR เป็นสองประเภทใหญ่ๆนะคะคือ
วีซ่า TR สำหรับนักเรียนต่างชาติ
การที่จะได้มาซึ่งวีซ่านี้จะต้องจบการศึกษาจากคอร์สที่จดทะเบียนหลักสูตรตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป และ อยู่ในระดับปริญญาตรี โท เอก หรือสายอาชีพที่มีระบุอยู่ใน MLTSSL (สาขาอาชีพที่ได้รับการคัดเลือกให้อยู่ในลิสต์) วีซ่าตัวนี้แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆได้แก่
- Graduate Work Stream วีซ่านี้เป็นวีซ่าสำหรับนักเรียนที่เรียนจบมาในสาขาอาชีพที่มีระบุอยู่ใน Medium and Long-term Strategic Skills List (MLTSSL) เช่น เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) บัญชี สถาปัตย์ วิศวะ แพทย์ เชฟ พี่เลี้ยงดูแลเด็ก เป็นต้น ซึ่งเป็นสาขาอาชีพที่ได้รับการคัดเลือกให้สามารถต่อวีซ่าประเภทนี้ได้ เงื่อนไขในการยื่นสมัครวีซ่าประเภทนี้นอกจากที่จะต้องเรียนจบสาขาวิชาตามที่กำหนดใน MLTSSL แล้วยังต้องเรียนจบในหลักสูตรที่มีระยะเวลาอย่างน้อย 2 ปี มีผลสอบภาษาอังกฤษ IELTS Overall 6.0 (จะเป็น General Module หรือ Academic Module ก็ได้) โดยในแต่ละพาร์ทมีคะแนนไม่ต่ำกว่า 0 หลังจากได้รับวีซ่านี้แล้วจะสามารถอยู่และทำงานในประเทศออสเตรเลียได้อีกเป็นเวลา 18 เดือน
- Post-Study Work Visa วีซ่านี้เปิดโอกาสให้กับผู้ที่เรียนจบมหาวิทยาลัยในออสเตรเลียในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ในสาขาวิชาใดก็ได้ ระยะเวลาในการอยู่ต่อนั้นแบ่งประเภทตามลักษณะการเรียนที่ผ่านมาเช่น
- เรียนจบ Bachelor/ Master Degree by coursework ระยะเวลาหลักสูตร 2 ปีขึ้นไป จะสามารถอยู่ต่อได้อีก 2 ปี
- เรียนจบ Master Degree by research ระยะเวลาหลักสูตร 2 ปีขึ้นไป จะสามารถอยู่ต่อได้อีก 3 ปี
- และเรียนจบ PhD ระยะเวลาหลักสูตร 2 ปีขึ้นไป จะสามารถอยู่ต่อได้อีก 4 ปี
- เงื่อนไขผลสอบคะแนน IELTS เหมือนกับ Graduate Work Stream Visa โดยคะแนน IELTS Overall 6.0 และแต่ละพาร์ทมีคะแนนไม่ต่ำกว่า 0 (จะเป็น General Module หรือ Academic Module ก็ได้เช่นกัน)
ในปี 2020 ได้มีการออกกฎสำหรับวีซ่า 485 มาเพิ่มเติมสำหรับการยื่นวีซ่าครั้งที่สอง หากกรณีผู้ยื่นเรียนระดับปริญญาเป็นต้นไปและเรียนอยู่ในเขต Regional area ซึ่งระหว่างที่ถือวีซ่าตัวนี้ครั้งแรกยังคงอาศัยอยู่ในเขต Regional area จะสามารถยื่นวีซ่าครั้งที่สองได้อีก 1-2 ปี อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
วีซ่า TR สำหรับคนต่างชาติที่ทำงานในออสเตรเลีย
วีซ่าสปอนเซอร์ Temporary Skill Shortage (TSS) (Subclass 482) หานายจ้างสปอนเซอร์โดยตรง โดยอาชีพที่ได้รับการสปอนเซอร์จะต้องอยู่ในลิสต์เท่านั้น Medium and Long-term Strategic Skills List (MLTSSL) ถึงจะสามารถทำการสปอนเซอร์จนไปถึงการได้เป็นพลเมืองถาวรในอนาคต ยกตัวอย่างเช่นสาขาทางด้านเชฟ สายช่าง การดูแลเด็ก และอื่น ๆ นายจ้างอาจจะต้องให้เหตุผลเพิ่มเติมด้วยว่าทำไมจะต้องสปอนเซอร์เราซึ่งเป็นคนต่างชาติ และธุรกิจที่จะทำการสปอนเซอร์เรานั้นก็จะต้องมีใบจดทะเบียนธุรกิจหรือใบอนุญาติประกอบกิจการที่ประเทศออสเตรเลีย นอกจากนั้นก็ยังจะต้องมีการประเมิณทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ อายุของผู้สมัคร และประสบการณ์การทำงานเพิ่มเติมอีกด้วย โดยวีซ่าประเภทนี้จะเป็นการยื่นวีซ่าสองต่อ ต่อแรกคือการถือ วีซ่าสปอนเซอร์ Temporary Skill Shortage (TSS) (Subclass 482) 4 ปีและทำตามเงื่อนไขที่กำหนดเพื่อยื่นวีซ่าสำหรับการเป็นพลเมืองถาวรได้ในอนาคต
และวีซ่า Skilled Work Regional (Provisional) Visa (Subclass 491) วีซ่าสำหรับผู้ที่มีทักษะผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดจากทางรัฐบาลและมีใบประกอบอาชีพ พร้อมกับทำงานอยู่ในเขต regional area จะสามารถยื่นวีซ่าตัวนี้เพื่อนำไปขอวีซ่า PR ได้เช่นกัน
มีวิธีใดบ้างที่จะสามารถทำให้ได้ PR ?
ต้องบอกก่อนว่าการจะได้มาเป็นผู้พำนักถาวรในประเทศออสเตรเลียนั้นไม่ง่ายเลยทีเดียว แต่ก็ยังมีโอกาสและลู่ทางต่าง ๆ ที่จะได้มาซึ่งวีซ่า PR วันนี้เราจะมาสรุปให้ฟังกันคร่าว ๆ ว่ามันมีวิธีอะไรบ้าง
1. วิธีแรก เริ่มจากการเรียนให้ตรงตามทักษะและอาชีพที่ประเทศออสเตรเลียต้องการวิธีนี้จะเป็นใบเบิกทางได้ ส่วนสาขาการเรียนที่จะนำไปสู่การได้ PR ในอนาคตที่กำลังเป็นที่นิยมในตอนนี้ก็ได้แก่ สาขา พยาบาล, วิศวกรรมศาสตร์, บัญชี, เทคโนโลยีสารสนเทศ, แพทย์, สถาปัตย์, เชฟ และสาขาวิชาเฉพาะอื่น ๆ ซึ่งสามารถเข้าไปดูลิสต์เต็ม ๆ กันได้ที่Medium and Long-term Strategic Skills List (MLTSSL) หลังเรียนจบผู้เรียนสามารยื่น Skilled Independent visa (Subclass 189), State Nomination (190) เมื่อผ่านการพิจารณาคุณสมบัติของผู้ยื่นต่าง ๆ เช่น คุณวุฒิการศึกษาที่ผ่านมา ประสบการณ์การทำงาน ผลสอบทักษะภาษาอังกฤษ อายุของผู้สมัคร รวมไปถึงจะต้องผ่านการประเมิณทักษะหรือที่เรียกว่า Skill Assessment อีกด้วย ซึ่งแต่ละอาชีพนั้นก็จะมีองค์กรต่าง ๆ ที่แตกต่างกันออกไปที่จะทำการประเมิณทักษะของเรา และวีซ่า Skilled Regional Visa (Subclass 191) หลังถือวีซ่า Skilled Work Regional (Provisional) Visa (Subclass 491) ครบ 3 ใน 5 ปี วิธีนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการรายบุคคล อาจจะสับสนนิดหน่อย หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อกับเราได้ SOLEdu ทีมงานช่วยวางแผนการเรียนไปจนถึงขอวีซ่า PR เลยค่ะ
2. ผู้ที่ถือวีซ่าสปอนเซอร์ Temporary Skill Shortage (TSS) (Subclass 482) 4 ปีและทำตามเงื่อนไขที่กำหนดเพื่อยื่นวีซ่าสำหรับการเป็นพลเมืองถาวร Employer Sponsor Visa (Subclass 186) หรือ Regional Sponsored Migration Stream (Subclass 187)
3. หาแฟนเป็นออซซี่หรือ PR แล้วทำวีซ่าพาร์ทเนอร์ซะเลย (Partner Visa subclass 820 and 801) ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีหนึ่งที่จะสามารถทำให้เราได้ PR ขึ้นอยู่กับบุพเพสันนิวาสแล้ว ผู้ที่ทำการยื่นสมัครวีซ่าประเภทนี้ จะต้องแต่งงานหรือมีความสัมพันธ์แบบสามี-ภรรยา กับชาวออซซี่หรือผู้ที่ถือวีซ่า PR ผู้สมัครจะต้องยื่นเอกสารหลักฐานต่างๆเพื่อที่จะพิสูจน์ความสัมพันธ์ว่าเป็นจริงและต่อเนื่องอย่างน้อย 12 เดือนติดต่อกัน
เป็นยังไงบ้างคะ พอจะเข้าใจมากขึ้นไหม ? หามีข้อสงสัยสามารถติดต่อกับทีมงาน SOLEdu ได้นะคะ เราให้คำปรึกษาในด้านการเรียนต่อฟรี และมีทนายให้การช่วยเหลือในการยื่นวีซ่า 🙂 สามารถสแกน QR code ด้านล่าง หรือ แอดไลน์มาที่ @soledu.thailand ได้เลยนะคะ