เจาะลึกสายอาชีพขอพีอาร์ที่ว่าถึงทางตัน แต่ดันไปบูมที่ทาสมาเนีย
เพื่อนๆ อาจจะได้ทราบข่าวจากคนรอบข้างมาบ้างว่า ตอนนี้ใครๆ ก็แห่กันไปเรียนที่ Tasmania จนบางคอร์สใน University of Tasmania และ Tas TAFE มีการลงทะเบียนเต็มล่วงหน้าไปจนต้นปี 2019 เลยก็มี มันมีดียังไง หลายคนถึงยอมตีตั๋วถาวรย้ายไปชมธรรมชาติที่ Tasmania วันนี้เรามีคำตอบมาให้เพื่อนๆ หายสงสัยกันค่ะ
ว่าด้วยวีซ่า subclass 190 – Skilled Nominated และวีซ่า subclass 489 – Skilled Regional (Provisional) เพื่อเป็นการปูพื้นเรื่องกันก่อนเลยค่ะ เราเอามาเล่าให้ฟังกันแบบสายย่อ เข้าใจง่าย ส่วนใครที่อยากได้ข้อมูลแบบลึกสุดใจ ฉบับเต็ม ก็เข้าไปเช็คกันได้จาก เว็ปไซท์ https://www.migration.tas.gov.au/skilled_migrants เลย
สำหรับวีซ่า subclass 190 ของที่ Tasmania ก็คือวีซ่าพีอาร์ ที่ให้เราพำนัก และทำงานใน Tasmania ได้โดยเงื่อนไขการสมัครหลักๆ คือ
- อายุไม่ถึง 45 ปี
- ยื่นวีซ่าในอาชีพที่อยู่ใน Occupation List ของ Tasmania
- ผ่าน Skill Assessment
- มี IELTS อย่างน้อย 6.0 ทุกพาร์ท
- เราจะต้องมี 60 แต้ม ตาม point test (เราจะได้แต้มเพิ่มมา 5 แต้ม จาก Tasmania State Nomination)
- และหลังจากได้วีซ่าเราต้องพำนักใน Tasmania เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 ปี
แบ่งรูปแบบการสมัครได้เป็น 3 แบบคือ
- Tasmania Graduate – เรียนใน Tasmania เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 ปีการศึกษา (มีเงื่อนไขเพิ่มเติม)
- Work in Tasmania – ทำงานใน Tasmania อย่างน้อย 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 เดือนก่อนการยื่นสมัคร (มีเงื่อนไขเพิ่มเติม)
- Overseas Applicant (Job Offer) อันนี้ยื่นมาจากนอกออสเตรเลีย (มีเงื่อนไขเพิ่มเติม)
เอ๊ะ แล้วมันต่างจากการขอพีอาร์ แบบวีซ่า subclass 189 ยังไง ว่ากันง่ายๆ คือใครที่มีแต้มขอพีอาร์อยู่ 55 แต้ม จะได้แต้มเพิ่มจาก Tasmania State Nomination อีก 5 แต้ม และ Occupation List ของ Tasmania ก็เป็นลิสต์ที่ใหญ่กว่า ลิสต์ของ subclass 189 นั่นเอง
ส่วนวีซ่า subclass 489 ของ Tasmania เป็นวีซ่าชั่วคราวที่ให้เราอยู่ทำงานใน Tasmania ได้มากสุด 4 ปี เท่านั้น และเป็นสะพานในสู่พีอาร์ได้หากทำตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้
เงื่อนไขในการยื่นขอวีซ่า subclass 489 ก็คล้ายๆ subclass 190 ต่างกันที่ ผู้ที่มีแต้ม point test อยู่แค่ 50 แต้ม จะได้แต้มเพิ่มจาก Tasmania State Nomination อีก 10 แต้ม รวมเป็น 60 แต้มก็ยื่นวีซ่านี้ได้เลย ส่วนรูปแบบในการสมัคร ก็มีเพิ่มขึ้นมาอีก 1 รูปแบบ คือ
- Small Business Owner โดยรูปแบบนี้ เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีอาชีพและประสปการณ์ทางธุรกิจหรือบริหาร อยู่ในสาขาที่ทาง Tasmania กำลังต้องการสามารถยื่นข้อเสนอในการเปิดกิจการใน Tasmania โดยมีเงื่อนไขคร่าวๆ คือต้องเป็นกิจการเปิดใหม่เท่านั้น ห้ามซื้อต่อ หรือเป็น Franchise พร้อมต้องแสดงว่ามีทุนทรัพย์เพียงพอต่อการดำเนินกิจการนั้น
ทีนี้ก็มาถึงคำตอบที่ว่า คนที่คิดจะเรียนสาขายอดฮิตที่ใช้ขอพีอาร์ได้ แต่ก็ใกล้ถึงทางตัน อย่าง นักบัญชี วิศวกร หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านไอที เริ่มหันทิศไปลงเรียนกันที่ Tasmania ก็เพราะว่าในการขอวีซ่า subclass 189 ในสาขายอดฮิต คนเรียนเยอะ จบเยอะ ขอวีซ่าเยอะกว่าที่เปิดรับ เลยต้องมาตัดสินกันที่ใครแต้ม point test สูงกว่าเหนือกว่า จะให้ได้แต้มสูงก็ต้องมาแข่งกันที่ภาษาอังกฤษ ประสปการณ์ทำงาน วุฒิที่จบ อายุ และอีกมากมาย เมื่อได้จำนวนคนครบโควต้าเมื่อไหร่ก็ตัดสิทธ์คนที่เหลือ พวกแต้มต่ำก็ตกไป
ในขณะที่ subclass 190 และ subclass 489 ใน Tasmania ใช้ระบบการให้วีซ่าแบบอธิบายภาษาบ้านๆ คือใครขอก่อนได้ก่อน มีสิทธ์ก่อน พอคนเต็มก็ตัดสาขาที่เต็มออกจากลิสต์ ไม่ต้องเอาแต้มมาแข่งกันให้วุ่นวาย นี่คงเป็นสาเหตุที่พวกไหวตัวทันก่อน ก็ย้ายไปเรียนที่ Tasmania ก่อน อีกอย่างตอนนี้ทางรัฐบาล Tasmania ก็กำลังเร่งพัฒนาเศรษฐิจ โดยเฉพาะ ทางด้านการบริการและการท่องเที่ยว ในอนาคตอันใกล้ ที่อยู่ ที่กิน ที่เที่ยว และงาน ก็จะมีเพิ่มขี้นอย่างมากเลยทีเดียว
อย่างไรก็ตาม คำแนะนำจากพวกเรา SOL Edu สำหรับเพื่อนๆ คือเลือกเรียนในสาขาที่เราชอบเรียนและนำไปใช้ได้จริงในอนาคตดีที่สุดค่ะ เพราะสุดท้ายท้ายสุดก็ไม่มีใครสามารถการันตีได้ว่า สาขาอาชีพที่เราเรียนจะยังเปิดรับอยู่หรือไม่ตอนที่เราเรียนจบหรือกฎกติกาต่างๆ จะเปลี่ยนไปยังไงบ้าง ส่วนคนที่สนใจด้าน บัญชี หรือ ไอที เพราะเป็นสาขาที่ทำเงินได้เยอะอยู่หากกลับไทย แถมเพิ่มโอกาสขอพีอาร์ได้ด้วย และกำลังหาที่เรียนอยู่ University of Tasmania ก็เป็นอีกช๊อยส์ ที่น่าไปเรียนนะคะ
หรือจะกรอกแบบฟอร์มด้านล่างนี้เพื่อติดต่อเราก็ได้ด้วยเช่นกัน