สภาพอากาศของออสเตรเลียมีความหลากหลายแตกต่างไปตามฤดูกาลและสภาพภูมิประเทศ ตั้งแต่แบบเขตร้อนถึงแบบอบอุ่น พื้นที่ร้อนสุดตั้งอยู่ทางตอนเหนือ (กลุ่มรัฐ Nothern Territory, Queensland, Western Australia ตามลำดับ) ประมาณ 34 องศาเซลเซียส และอากาศหนาวเย็นสุดอยู่ทางตอนใต้ (กลุ่มรัฐ New South Wales & ACT, South Australia,และ Victoria ตามลำดับ) ประมาณ 11-12 องศาเซลเซียส
ออสเตรเลีย มีการแบ่งความแตกต่างของเวลาตามเส้นแบ่งของโลกออกเป็น 3 เขตเวลา ตามมาตรฐานกรีนิช (Greenwich Mean Time, GMT) โดย Australia มี 3 โซนเวลา + 1
ช่วงโซนเวลาพิเศษ ดังนี้:
1. Australian Eastern Standard Time (AEST) UTC/GMT+10 คือ เร็วกว่าไทย 3 ชั่วโมง ใช้ในรัฐ Queensland, New South Wales, Victoria, Tasmania, และเมือง Canberra
2. Australian Central Standard Time (ACST) UTC/GMT+9.30 เร็วกว่าไทย 2 ชั่วโมงครึ่ง ใช้ใน Northern Territory และรัฐ South Australia
3. Australian Western Standard Time (AWST) UTC/GMT+8 เร็วกว่าไทย 1 ชั่วโมง ใช้ใน รัฐ Western Australia
4. ช่วงโซนเวลาพิเศษ Australian Eastern Daylight Time (AEDT) UTC/GMT+11 คือ เร็วกว่าไทย 4 ชั่วโมง จะมีเวลาในช่วงกลางวันยาวนานกว่าในช่วงกลางคืนจึงมีการปรับเวลาให้เร็วขึ้นจากเดิมอีก 1 ชั่วโมง ในช่วงเดือนตุลาคม – มีนาคม ในทุกรัฐ (New South Wales, Victoria, Tasmania, South Australia) ยกเว้น รัฐ Western Australia, Queensland
ขั้นตอนที่ 12: กด Read & Print เพื่อพิมพ์ Welcome letter
รายละเอียดควรทราบหลังจากสมัครเสร็จจะประกอบด้วย
Client number : เลข log in เข้าระบบ 8 หลัก
Account type: มี 2 ประเภท:
Smart Access (สำหรับผู้ถือวีซ่า Work and Holiday และผู้ถือวีซ่าที่ไม่ใช่วีซ่านักเรียน)
Student Smart Access (สำหรับผู้ถือวีซ่านักเรียน)
BSB : เลขสาขา 6 หลัก
Account number : เลขบัญชี 8 หลัก
Balance : เริ่มต้นจะแสดงเป็น $0.00 หากทำการโอนเงินเข้าบัญชีแล้ว สามารถLog in เข้ามาตรวจสอบยอดเงินได้
ตัวอย่าง Welcome Letter
ขั้นตอนที่ 13: การล็อกอินเข้าสู่ NetBank
เมื่อทำการสมัครเปิดบัญชีเรียบร้อยแล้ว จะได้รับอีเมล Welcome to NetBank จากทาง Commonwealth Bank ซึ่งจะมีรายละเอียด NetBank client number สำหรับใช้ล็อกอินเข้าสู่ระบบ รวมถึงลิงค์สำหรับเข้าสู่หน้า NetBank
4A) What is your passport or travel document number? — ใส่หมายเลขพาสปอร์ต
4B) What is the country of origin of your passport or travel document? — ประเทศที่ออกพาสปอร์ตให้คือประเทศอะไร ก็พิมพ์ว่า Thailand
4C) Have you ever visited Australia before? — เคยมาที่ประเทศออสเตรเลียแล้วหรือไม่ ตอบตามความเป็นจริงนะ จากนั้นเลื่อนลงมากรอกข้อมูลส่วนตัวพาร์ทต่อไปได้เลย
5.) ในส่วนของ Personal Detail ให้กรอกตามนี้
5A) Title– ใส่คำนำหน้าชื่อ
5B) Family name –นามสกุล
5C) First given name – ชื่อจริง
5D) Other given names – ถ้ามีชื่อจริงๆอื่นๆที่ใช้ตามเอกสารราชการก็ใส่ตรงนี้
5E) Are you, or have you been known by any other names? — มีชื่ออื่นๆที่ใช้อีกไหม เช่น ชื่อก่อนแต่งงาน (เป็นชื่อที่เเจ้งกับทางราชการเช่นเดียวกันนะ)
5F) What is your full date of birth? – ใส่วันเกิดของตัวเอง
5G) What is your gender? – ใส่เพศของตัวเอง
5H) Do you have a spouse? — มีคู่สมรสหรือไม่? ถ้าตอบ Yes กรอกข้อมูลคู่สมรสไปด้วย
5I) เสร็จแล้ว –คลิก Next
6.) หน้านี้คือในส่วนของ Exisiting TFN or ABN Information – ถ้าไม่เคยมี TFNหรือ ABN มาก่อน ให้ตอบ No ทั้งหมด
7A) What is your Australian postal address? — กรอกที่อยู่เราในออสเตรเลียลงไป ซึ่งที่อยู่ที่กรอกตรงนี้จะเป็นที่อยู่ ที่ ATO ส่งจดหมายที่มีเลข TFN มาให้เรา
7B)What is your current home address? — ช่องนี้จะโผล่มาหลังจากข้อมูลที่อยู่ข้างบนเสร็จ สามารถติ๊กถูกในช่องได้เลยถ้าที่อยู่ออสเตรเลียของเรามีที่เดียว
8A) Who would you like the ATO to contact if we need further information to process your TFN application? — จะให้เจ้าหน้าที่ติดต่อใครได้กรณีที่เจ้าหน้าที่ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม เลือกตัวเองหรือคนอื่นก็ได้ ถ้าเลือกตัวเอง ก็กรอกเบอร์โทรศัพท์ และ Email ลงไปได้เลย แต่ถ้าจะให้ติดต่อคนอื่นก็คลิกที่ช่องข้างล่าง “I want to provide contact details for another person.” แล้วกรอกเบอร์โทร และ email ของคนอื่นที่เราต้องการให้ติดต่อได้เลยเสร็จแล้ว คลิก Next
Super คือ เงินบำนาญหรือกองทุนเงินเกษียณ ซึ่งเป็นรายได้อีกส่วนหนึ่งที่นายจ้างจะจ่ายให้กับเรา และเงินนี้จะเพิ่มขึ้นตลอดตามการทำงานของเรา แต่ super จะไม่สามารถเบิกออกมาใช้ได้เลย เราจะเบิกเงิน super ออกมาได้ก็ต่อเมื่อเราไม่ได้ทำงานที่ออสเตรเลียแล้ว ไม่ถือวีซ่าออสเตรเลีย และจะต้องบินออกจากประเทศออสเตรเลียแล้วเท่านั้นถึงจะทำเรื่องขอการรับเงิน super คืนได้ด้วยการกรอกฟอร์ม Departing Australia superannuation payment (DASP)
ทีนี้อย่างที่กล่าวไปที่ข้างต้น งานพาร์ทไทม์ตามร้านอาหาร คาเฟ่ ร้านนวด หรือซุปเปอร์มาร์เกต ส่วนใหญ่ เขาจะสมัคร super ให้เราได้ ในกรณีที่เราไม่มีเลข super มาก่อน เราสามารถให้เลข TFN ตอนกรอกรายละเอียดหลังนายจ้างรับเราเข้าทำงานเพื่อให้เขาสมัครให้เราได้
Note: ช่วงนี้ รัฐบาลออสเตรเลียออกนโยบาย Temporary relaxation of working hours for student visa holders ซึ่งทำให้นักเรียนสามารถทำงานได้เกิน 40 ชั่วโมง ต่อสองสัปดาห์ (Fortnight) ได้สำหรับการทำงานบางประเภท ภายใต้เงื่อนไขดังนี้:
– ทำงานในสถานดูแลผู้สูงอายุที่ได้รับการรับรองหรือได้รับงบประมาณสนับสนุนจากเครือรัฐฯ (Commonwealth-funded) ซึ่งต้องมี RACS ID หรือ NAPS ID ก่อนวันที่ 8 ก.ย. 2563
– ทำงานให้กับผู้ให้บริการโครงการ National Disability Insurance Scheme ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน
รูปแบบที่ 3 : ค้นหาจาก official website หรือ อีเมล์ไปยังร้านค้าหรือบริษัทนั้นๆ
นอกจากการใช้ third-party website ในการหางานแล้ว อีกหนึ่งช่องทางที่จะทำให้เราได้อัพเดทตำแหน่งงานที่เปิดรับได้เร็วกว่าใคร นั่นก็คือ การเข้าไปดู career update ทาง official website ของบริษัทหรือร้านต่างๆที่เราสนใจ ซึ่งนอกจากนี้เรายังสามารถอีเมล์แนบ resume ไปยังบริษัทหรือร้านค้าของเราได้โดยตรง และสามารถสอบถามข้อมูฃเพิ่มเติมต่างๆได้อีกด้วย
รูปแบบที่ 4 : ค้นหาจาก Community บน Facebook
น่าเสียดายที่ Facebook Jobs ไม่สามารถใช้ได้นออสเตรเลียอีกต่อไป แต่ทั้งนี้สำหรับใครที่อยากลองทำพาร์ทไทม์ในกลุ่ม hospitality กับคนไทยด้วยกันก็ยังสามารถเข้าไปหางานได้ตาม group ทั่วๆไป เช่น
https://www.facebook.com/groups/337049706949787/ – เพจหางาน หาบ้าน by Thaiwahclub
https://www.facebook.com/groups/thaisinbrisbane – เพจ Thais in Brisbane
หรือสามารถค้นหาจาก Thai Community ทาง website ต่างๆ ได้เช่น: